วันศุกร์ที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2554

การทดลองคุณสมบัติของคลื่นน้ำ ( คลิปวิดีโอ 1,2 )

การทดลองคุณสมบัติของคลื่นน้ำ  ( คลิปวิดีโอ 1,2 )
รูป 1  water in slow motion

รูป 2 คลื่นน้ำจังหวะหัวใจ

แหล่งข้อมูล : 
http://www.youtube.com/watch?v=CSeDDCgx_Gc

การเลี้ยวเบนของคลื่น

การเลี้ยวเบนของคลื่น
        เมื่อสิ่งกีดขวางการเคลื่อนที่ของคลื่นบางส่วน จะพบว่ามีคลื่นส่วนหนึ่งแผ่จากขอบของสิ่งกีดขวางไปทางด้านหลังของสิ่งกีดขวางดังรูป 1 การที่มีคลื่นปรากฏอยู่ทางด้านหลังของแผ่นกั้นคลื่นในบริเวณนอกทิศทางเดิมของคลื่นเช่นนี้ เรียกว่า   การเลี้ยวเบนของคลื่น
     เมื่อคลื่นผ่านสิ่งกีดขวาง ซึ่งมีช่องเปิดแคบๆ ที่เรียกว่า สลิต การเลี้ยวเบนจะเกิดมาก ถ้าสลิตมีความกว้างเท่ากับ หรือน้อยกว่าความยาวคลื่น จะแผ่ออกจากสลิตเสมือนเป็นแหล่งกำเนิดคลื่นวงกลมดังรูป 2
แหล่งข้อมูล :
http://www.kpsw.ac.th/teacher/piyaporn/page3.htm
           ถ้าสิ่งกีดขวางมีสลิตสองช่องโดยแต่ละช่องของสลิตแคบมาก สลิตทั้งสองจะเป็นเสมือนแหล่งกำเนิดคลื่นวงกลม จึงเกิดการแทรกสอดของคลื่น ที่เกิดจากสลิตทั้งสองนับได้ว่าเป็นการแทรกสอดที่เกิดจาก   การเลี้ยวเบนดังรูป 3
Interference.gif - 59.2 K
แหล่งข้อมูล :
http://www.rmutphysics.com/physics/oldfront/115/particle-wave.htm
      จากการที่คลื่นเคลื่อนที่ผ่านสลิตแคบ ๆ แล้วแผ่ออกเป็นคลื่นวงกลม จึงดูเสมือนว่าเป็นคลื่นที่ออกมาจากแหล่งกำเนิดคลื่นวงกลม ปรากฏการณ์นี้สามารถอธิบายได้โดยใช้หลักการของฮอยเกนส์ ซึ่งกล่าวว่า แต่ละจุดบนหน้าคลื่นสามารถถือได้ว่าเป็นแหล่งกำเนิดของคลื่นใหม่ที่ให้กำเนิดคลื่น ซึ่งเคลื่อนที่ออกไปทุกทิศทุกทาง ด้วยอัตราเร็วเท่ากับอัตราเร็วของคลื่นคลื่นเดิมนั้น
          หลักการของฮอยเกนส์  สรุปได้ว่า ทุกๆจุดบนหน้าคลื่น ถือได้ว่าเป็นแหล่งกำเนิดคลื่นใหม่ซึ่งทำให้เกิดคลื่นวงกลมที่มีเฟสเดียวกัน เคลื่อนที่ไปในทิศเดียวกับทิศการเคลื่อนที่ของคลื่นเดิม  ดังรูป  4 ก. แสดงหน้าคลื่นเส้นตรง และ รูป 4 ข. แสดงหน้าคลื่นวงกลม

รูป 4  แสดงการที่หน้าคลื่นซึ่งเกิดจากคลื่นวงกลมเล็กๆ ทำให้เกิดหน้าคลื่นใหม่ขนานกับหน้าคลื่นเดิม
 
           จากการศึกษาเรื่องคลื่น จะเห็นว่าคลื่นมีสมบัติสำคัญ ได้แก่การสะท้อนของคลื่น  การหักเหของคลื่น  การแทรกสอดของคลื่น และการเลี้ยวเบนของคลื่น คลื่นอื่นๆ ที่นอกเหนือไปจากคลื่นผิวน้ำที่กล่าวในบทนี้จะมีสมบัติเช่นเดียวกัน
 

การแทรกสอดของคลื่น

การแทรกสอดของคลื่น
        เมื่อคลื่นต่อเนื่องจากแหล่งกำเนิดคลื่นสองแหล่งที่มีความถี่เท่ากันและมีเฟสตรงกันเคลื่อนที่มาพบกัน จะเกิดการซ้อนทับระหว่างคลื่นต่อเนื่องทั้งสอง ปรากฏการณ์เช่นนี้เรียกว่า เกิดการแทรกสอดของคลื่น
        ในกรณีที่การแทรกสอดนั้น สันคลื่นตรงกันและท้องคลื่นตรงกัน คลื่นลัพธ์ที่เกิดขึ้นจะมีสันคลื่นสูงกว่าเดิม และมีท้องคลื่นลึกกว่าเดิม เรียกว่า เกิดการแทรกสอดแบบเสริม ( ปฏิบัพ )
        ถ้าการแทรกสอดนั้น สันคลื่นไปตรงกับท้องคลื่นของอีกแหล่งกำเนิดหนึ่ง คลื่นลัพธ์ที่เกิดขึ้นจะมีสันคลื่นต่ำกว่าเดิม และท้องคลื่นตื้นกว่าเดิม  เรียกว่า เกิดการแทรกสอดแบบหักล้าง ( บัพ )
        แหล่งกำเนิดคลื่นที่มีความถี่เท่ากัน และเฟสตรงกัน หรือมีเฟสต่างกันเป็นค่าคงตัว เรียกแหล่งกำเนิดนี้ว่า แหล่งกำเนิดอาพันธ์
        คลื่นน้ำที่เกิดการแทรกสอด แล้วผิวน้ำไม่กระเพื่อมหรือการกระจัดเป็นศูนย์ เรียกว่า บัพ ( Node , N ) และแนวเส้นที่ลากเชื่อมบัพที่อยู่ถัดกันไปเรียกว่า เส้นบัพ ส่วนตำแหน่งที่ผิวน้ำกระเพื่อมมากที่สุด หรือมีการกระจัดมากที่สุด เรียกว่า ปฏิบัพ ( Antinode , A ) และแนวเส้นที่ลากเชื่อมต่อปฏิบัพที่อยู่ถัดกันไปเรียกว่า เส้นปฏิบัพ ดังรูป

แหล่งข้อมูล :
http://www.pm.ac.th/wave/interference.html
ในกรณีที่ S1 และ S2 เป็นแหล่งกำเนิดอาพันธ์  ทุกจุดบนเส้นปฏิบัพ คลื่นจะแทรกสอดแบบเสริม  และผลต่างระหว่าระยะทางจากแหล่งกำเนิดคลื่นทั้งสองไปยังจุดใดๆบนเส้นปฏิบัพจะเท่ากับจำนวนเต็มของความยาวคลื่นเสมอ ดังรูป
S2P  -  S1P  =  nl
เมื่อ   n  =  0 , 1 , 2 , 3 , …
        n   คือ   แนวเส้นปฏิบัพ
        0   คือ   แนวเส้นกลาง 
ในกรณีที่ S1 และ S2 เป็นแหล่งกำเนิดอาพันธ์  ทุกจุดบนเส้นบัพ คลื่นจะแทรกสอดแบบหักล้าง  และผลต่างระหว่าระยะทางจากแหล่งกำเนิดคลื่นทั้งสองไปยังจุดใดๆบนเส้นบัพจะเท่ากับจำนวนเต็มคลื่นลบกับครึ่งหนึ่งของความยาวคลื่นเสมอ ดังรูป
S2P  -  S1P  =  ( n - 1/2 ) l
        เมื่อ   n  =  1 , 2 , 3 , …
        n   คือ   แนวเส้นบัพ 
 
ตัวอย่าง 1 คลื่นน้ำสองคลื่นเกิดจากแหล่งกำเนิดอาพันธ์มีเฟสตรงกัน  คลื่นทั้งสองมีความยาวคลื่น 4.0 เซนติเมตร  ถ้าระยะห่างระหว่างแหล่งกำเนิดทั้งสองเท่ากับ 8.0  เซนติเมตร ระหว่างแหล่งกำเนิดทั้งสองจะเกิดจุดบัพกี่จุด
วิธีทำ                จาก          S2P  -  S1P       =     


S2P  -  S1P  มีค่ามากที่สุด   =   8.0  cm
                                                          8     

                                                        n      =      2.5    cm
     แต่  n  ต้องเป็นจำนวนเต็มเท่านั้น  นั่นคือ  n  =  2
                จะเกิดจุดบัพทั้งหมด   =   2  +  2   =  4  จุด              ตอบ

ตัวอย่าง  2       แหล่งกำเนิดอาพันธ์ให้เฟสตรงกันอยู่ห่างกัน 10 cm  เกิดแนวปฏิบัพได้ 3 แนว จงหาความยาวคลื่นของแหล่งกำเนิดทั้งสอง
วิธีทำ                การเกิดแนวปฏิบัพได้ 3 แนว  แสดงว่าเกิด  n  =  1
                                        n      =     S1S2    
                                                           l
                                       l      =      S1S2  
                                                          n  
                                               =       10
 
                                        l      =      10    cm
        ระหว่างแหล่งกำเนิดทั้งสองจะเกิดปฏิบัพได้ 3 แนวเหมือนกัน  ถ้าตรงแหล่งกำเนิด เกือบจะเกิด n = 2   และจะได้  l  =  10 / 2   =  5  cm
     เมื่อ  l  =  5  cm    จะเกิดปฏิบัพได้ทั้งหมด 5  แนว    ดังนั้น  l  ต้องมากกว่า  5  cm และน้ยกว่าหรือเท่ากับ 10  cm
        แสดงว่า  แหล่งกำเนิดทั้งสองมีความยาวคลื่น 5 cm <  l  £  10  cm    ตอบ


วันพุธที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2554

การหักเหของคลื่น

การหักเหของคลื่น
        การหักเหของคลื่น หมายถึง การที่คลื่นเคลื่อนที่จากตัวกลางหนึ่งเข้าไปในอีกตัวกลางหนึ่งที่มีคุณสมบัติต่างกันแล้ว เป็นผลให้อัตราเร็วคลื่นเปลี่ยนไปโดยทิศการเคลื่อนที่ของคลื่นอาจเปลี่ยนหรือไม่เปลี่ยนก็ได้ ( ถ้าหน้าคลื่นตกกระทบขนานกับแนวรอยต่อของตัวกลางทั้งสองทิศการเคลื่อนที่ของคลื่นหักเหไม่เปลี่ยนแปลง )
        เมื่อคลื่นหักเหระหว่างผิวรอยต่อของตัวกลางใดๆ ปริมาณของคลื่นที่เปลี่ยนแปลง คือ ความเร็วและความยาวคลื่น ส่วนความถี่มีค่าคงที่เพราะเป็นคลื่นต่อเนื่องที่เกิดจากแหล่งกำเนิดเดียวกัน
        ในการพิจารณา ความเร็ว ( v ) และ ความยาวคลื่น ( l )ในตัวกลางใดๆ เมื่อ ความถี่ ( f ) คงที่ สามรถพิจารณาจากสมการ v = f l ดังรูป
รูป  แสดงมุมตกกระทบ ( q1 และมุมหักเห ( q2 )
แหล่งข้อมูล :
http://irrigation.rid.go.th/rid17/Myweb/machanical/commu/vorapot1.html

 จากรูป      ระยะ  BC  เป็นความยาวคลื่นในเขตน้ำลึก  l1 

ระยะ  AD  เป็นความยาวคลื่นในเขตน้ำตื้น  l2   

        จะได้ sin q1       =     BC   =     l1
                                         AB          AB  
                 sin q2       =     AD   =    l2
                                         AB          AB  
                ดังนั้น           sin q1=     l1 / AB
                                    sin q2       l2 / AB
                                    sin q1    =     l1        ....................................( 1 )
                                    sin q2           l2
    จาก  v = fl    จะได้           l  =     v
                                                         f
     ดังนั้น                       sin q1=     v1 / f  
                                     sin q2       v2 / f



( ความถี่ ( f ) เท่ากันเพราะแหล่งกำเนิดเดียวกัน )
                จะได้           sin q1    =     v1     ...................................( 2 )
                                   sin q2           v2
จากสมการ ( 1 )  และ  ( 2 )   จะได้
                                            v1    =     l1  ...................................( 2 )
                                            v2           l2 
จากสมการ ( 2 )  อธิบายได้ว่า เมื่อคลื่นมีการหักเห อัตราส่วนของค่าไซน์ของมุมตกกระทบกับค่าไซน์ของมุมหักเห จะมีค่าเท่ากับอัตราส่วนระหว่างอัตราเร็วคลื่นในตัวกลางที่คลื่นตกกระทบกับอัตราเร็วคลื่นในตัวกลางที่คลื่นหักเห

ตัวอย่าง 1 คลื่นขบวนหนึ่งเกิดจากแหล่งกำเนิด 20 Hz เคลื่อนที่จากน้ำลึกด้วยความเร็ว 6 m/s เข้าสู่น้ำตื้น โดยมีทิศทางตั้งฉากกับผิวรอยต่อ ถ้าความเร็วในน้ำตื้นเป็น 4 m/s จงหาความยาวคลื่นในน้ำตื้น
วิเคราะห์โจทย์  ทิศทางของคลื่นตกกระทบตั้งฉากกับผิวรอยต่อทิศทางของคลื่นหักเหไม่เปลี่ยนแปลง อัตราส่วนของค่าไซน์จึงไม่เกี่ยวข้อง
                ความถี่ของคลื่นในน้ำลึก = ความถี่ของคลื่นในน้ำตื้น = 20 Hz
                ถ้าให้น้ำลึกเป็นตัวกลางที่ 1  และ น้ำตื้นเป็นตัวกลางที่ 2
                จะได้เกี่ยวกับอัตราเร็ว v ว่า
                        v1     =      6      m/s
                        v2     =      4      m/s
วิธีทำ        หาความยาวคลื่นในน้ำลึก  จากสมการ    l    =    v
                                                                                   f
                  จะได้                l1     =      v1     =    6   =    0.3 m
                                                          f            20
                 หาความยาวคลื่นในน้ำตื้นจาก      v1    =     l1 
                                                              v2           l2 
                         l 2     =      l1   x   v1    =    0.3 m   x   4  m/s  =  0.2 m
                                                      v2                           6  m/s


นั่นคือ  ความยาวคลื่นในน้ำตื้นเป็น   20  เซนติเมตร                        ตอบ
ตัวอย่าง 2 คลื่นน้ำหน้าตรงเคลื่อนที่จากบริเวณ A ไปสู่บริเวณ  B  ในถาดคลื่นทำให้เกิดการหักเหของคลื่นปรากฏดังรูป  ถ้าคลื่นนี้เกิดจากแหล่งกำเนิดซึ่งมีความถี่ 10 Hz  อัตราเร็วคลื่นน้ำบริเวณ B  จะมีค่าเท่าใด

วิเคราะห์โจทย์   ความยาวคลื่นบริเวณ A       ( lA )  =  2  cm
                ความถี่ของคลื่นบริเวณ A   =    ความถี่ของคลื่นบริเวณ B        =    10   Hz
                อัตราเร็วคลื่นบริเวณ A หาได้จากสมการ       vA     =      flA  
 sin q1 =sin qA  =  sin 45°    สำหรับ   sin q2  =  sin qB  =    sin 30°  
วิธีทำ                จากสมการ     sin q1    =     v1    
                                 sin q2           v2
               ดังนั้น         sin qA    =     vA    
                                sin qB          vB
จะได้                vB   =      vA  x  sin 30 องศา
                                              sin 45  องศา

                      vB  =  (10 Hz)(2 cm)  x  
                      vB  =  
ดังนั้น  อัตราเร็วคลื่นน้ำบริเวณ B เป็น   เซนติเมตรต่อวินาที      ตอบ