วันพุธที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2554

การสะท้อนของคลื่น

การสะท้อนของคลื่น 
        เมื่อคลื่นเคลื่อนที่จากแหล่งกำเนิดคลื่นไปถึงปลายสุดของตัวกลางหนึ่ง ( จุดสะท้อนอิสระ )  คลื่นจะเคลื่อนที่กลับมาในตัวกลางเดิมหรือคลื่นเคลื่อนที่ไปกระทบกับสิ่งกีดขวาง(จุดสะท้อนตรึงแน่น)จะเกิดการสะท้อนกลับมาในตัวกลางเดิม
        ลักษณะของคลื่นสะท้อน เมื่อ
1. จุดสะท้อนตรึงแน่น  คลื่นสะท้อนมีลักษณะตรงข้ามกับคลื่นตกกระทบ คือ เข้าเป็นสันคลื่นออกเป็นท้องคลื่น หรือ เข้าเป็นท้องคลื่นออกเป็นสันคลื่น หรือ คลื่นสะท้อนมีเฟสตรงข้ามกับคลื่นตกกระทบ
2. จุดสะท้อนอิสระ  คลื่นสะท้อนมีลักษณะเหมือนกับคลื่นตกกระทบ คือ เข้าเป็นสันคลื่นออกเป็นสันคลื่น หรือ เข้าเป็นท้องคลื่นออกเป็นท้องคลื่น หรือ คลื่นสะท้อนมีเฟสเดียวกันกับคลื่นตกกระทบ
เมื่อคลื่นน้ำเคลื่อนที่ไปกระทบตัวสะท้อน ผิวน้ำบริเวณตัวสะท้อนสามารถกระเพื่อมขึ้นลงได้โดยอิสระ การสะท้อนของคลื่นน้ำนี้ถือว่าจุดสะท้อนเป็นอิสระ เฟสของคลื่นสะท้อนจะเป็นเฟสเดียวกัน  ดังนั้นการเคลื่อนที่ของคลื่นน้ำ ความหนาแน่นของตัวกลางจะมีส่วนเกี่ยวข้องกับการสะท้อน ดังนี้ เมื่อคลื่นเดินทางจากตัวกลางที่มีความหนาแน่นน้อยไปสู่ตัวกลางที่มีความหนาแน่นมาก คลื่นสะท้อนจะมีเฟสตรงกันข้าม(เป็นการสะท้อนที่ปลายตรึงแน่น)  ส่วนคลื่นเดินทางจากตัวกลางที่มีความหนาแน่นมากไปสู่ตัวกลางที่มีความหนาแน่นน้อย คลื่นสะท้อนจะมีเฟสเดียวกัน(เป็นการสะท้อนที่ปลายอิสระ)
การสะท้อนของคลื่น จะมีคุณสมบัติได้ดังนี้
1. ความถี่ของคลื่นสะท้อนมีค่าเท่ากับความถี่ของคลื่นตกกระทบ
2. ความเร็วของคลื่นสะท้อนมีค่าเท่ากับความเร็วของคลื่นตกกระทบ
3. ความยาวคลื่นของคลื่นสะท้อนมีค่าเท่ากับความยาวคลื่นของคลื่นตกกระทบ
4. ถ้าการสะท้อนไม่มีการสูญเสียพลังงาน จะได้ว่าแอมพลิจูดของคลื่นสะท้อนมีค่าเท่ากับแอมพลิจูดของคลื่นตกกระทบ
5. การสะท้อนของคลื่นจะเป็นไปตามกฎการสะท้อน
        1 )  รังสีตกกระทบ  เส้นแนวฉาก  รังสีสะท้อน  อยู่ในระนาบเดียวกัน
        2 )  มุมตกกระทบ ( q1 เท่ากับ  มุมสะท้อน  ( q2 )
แหล่งข้อมูล :
http://202.143.130.20/present_teach/ebook/yawaluk/__6.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น